สถูปคู่กับเขตชายแดนเขาพระวิหาร

นานมาแล้วนับพันปีที่กระแสอารยธรรมโบราณแผร่คลุมไปทั่วแนวผาหลักฐานเก่าแก่ที่สุดคือภาพสะลักนูนต่ำ ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่านับพันปี

สำหรับทางลงไปชมภาพสลักมีบรรไดสร้างเอาไว้เพื่ออำนวยความสะดวกโดยบนแผ่นผาหินทรายปลายบรรไดมีภาพสะลักนูนต่ำเป็นบุคคลชมชั้นสูงได้หันหน้าไปทาทิศตะวันออก ซึ่งยังมีการเถียงกันถึงอายุภาพสะลักนี้แต่สิ่งที่ได้เห็นตรงกันคือการแกะสลักได้มีมาก่อนการสร้างปราสาทเขาพระวิหารและยังมีบางความเห็นได้ระบุเอาไว้ว่าช่างที่ได้มาแกะสะลักที่หน้าผา

อาจจะต้องการทดสอบฝีมือของตนก่อนที่จะลงมือจริงกับปราสาทที่ไหนสักแห่งหรือบางทีปราสาทแห่งนั้นมันอาจจะเป็นปราสาทเขาพระวิหารก็เป็นได้และไกล้กับที่จะเดินไปชมภาพที่แกะสะลักมีบนดกเล็กๆที่ตั้งอยู่พร้อมกับเสาธงชาติไทย

ซึ่งเสาธงนี้เคยตั้งอยู่ที่ปราสาทเขาพระวิหารก่อนเกิดกรณีพิพาทเมื่อปีพุทธศักราช2505

จากที่นี่เราสามารถที่จะมองเห้นปราสาทเขาพระวิหารที่ได้สร้างอยู่บนชง่อนผาได้อย่างชัดเจนนอกจากปราสาทเขาพระวิหารเมื่อได้มองจากจุดนี้เรายังจะเห็นโบราณสถานอีกแห่ง ซึ่งที่นั้นเราสามารถที่จะเดินลงไปศึกษาทางเท้าได้สถูปคู่เป็นอาคารศิลาสองหลังตั้งอยู่เคียงคู่กันมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมหลังคาบาตรคว่ำมีความสูงราวๆประมาณ4เมตรเศษก่อด้วยแท่งหินทรายที่ได้ตัดและตกแต่งอย่างปราณีต

สันนิษฐานว่าหน้าจะสร้างมาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่16ในศิลปะแบบปาปวนภายในสถูปคู่ได้พบฐานโยนีและศิวลึงค์อันเป็นสัญลักษณ์ในการเกิด ซึ่งก็ได้เชื่อกันว่าสถูปคู่หน้าจะใช้เป็นตัวแทนความอุดสมบูรณ์เมื่อเดินเลยไปจากสถูปคู่จะได้พบกับถนนลาดยางที่นำพาไปสู่ลานหินกว้าง

ซึ่งได้ถูกประดับด้วยหลุมกุมภลักษณ์ที่มีขนาดเล็กๆเป็นจำนวนมาและที่สุดลานหินได้มีเสาเหล็กกับลวดแหลมปักเรียงการเป็นแนวกั้นทางเขตชายแดน ไทย กัมพูชาลานหินนี้เป็นจุดสุดท้ายที่สองเท้าของเราจะก้าวย่างมาถึงได้สมัยก่อนจากจุดนี้เราสามารถเดินเท้าต่อไปเพื่อที่จะขึ้นไปยังปราสาทเขาพระวิหารแต่วันนี้เราทำได้แค่เพียงยืนมองรอบๆปราสาทที่เรามองเห็นอยู่ไกลๆเพียงเท่านั้น

ถึงแม้ว่าวันนี้เราจะยังไปไม่ถึงตัวปราสาทเขาพระวิหารแต่นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทีมงานนั้นได้เดินทางมาถึงลานหินแห่งนี้เพราะเมื่อหลายปีก่อนพวกเราเองก็ยังได้เคยมาที่นี้และก็ได้เดินทางกันต่อไปยังปราสาทเขาพระวิหารมาแล้วครั้งหนึ่ง

เรื่องนี้ถูกเขียนใน ประวัติศาสตร์ และติดป้ายกำกับ คั่นหน้า ลิงก์ถาวร